วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

ข้อสอบชีวะ

1.การกำหนด "ปัญหา" สำหรับการศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวข้องกับความสามารถในข้อใด
ก. การสังเกตอย่างรอบคอบ
ข. การตั้งคำถามจากสิ่งที่สังเกต
ค. การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเพิ่มเติม
1.ก. และ ข.                          2.ข. และ ค.                          3.ก. และ ค.                          4.ก., ข. และ ค.



(เฉลย4.ก., ข. และ ค.)
คำอธิบาย : การกำหนดปัญหาในการศึกษาค้นคว้าวิจัยเกี่ยวข้องกับการสังเกตข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบ การตั้งคำถามจากสิ่งที่สังเกต และการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเพิ่มเติม  
………………………………………………………………………………………………………………
2.น้ำมันพืชในข้อใดไม่พบกรดไลโนเลอิกซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย
1.น้ำมันรำ                            2.น้ำมันถั่วเหลือง                               3.น้ำมันข้าวโพด                 4.น้ำมันมะพร้าว




(เฉลย4.น้ำมันมะพร้าว)
คำอธิบาย : จะไม่พบกรดไลโนเลอิกซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายในน้ำมันมะพร้าว เนื่องจาก
กรดไลโนเลอิก (Linoleic Acid) เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย (Essential Fatty Acids : EFA) และเป็นกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว ซึ่งหมายความว่า เป็นสารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้ และผลิตเองไม่ได้ จึงต้องได้รับจากแหล่งภายนอกร่างกายหรือจากอาหารเสริมเท่านั้น ส่วนใหญ่ได้มาจากน้ำมันพืช เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำ น้ำมันงา น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันเมล็ดทานตะวัน เป็นต้น
ส่วนน้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม รวมทั้งไขมันจากสัตว์ เป็นกรดไขมันไม่จำเป็นต่อร่างกายและเป็นกรดไขมันที่อิ่มตัว ร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้






3.เซลล์ใช้กลไกในข้อใดลำเลียงแอนติบอดีออกนอกเซลล์
ก. เอกโซไซโทซิส
ข. การแพร่แบบฟาซิลิเทต
ค. การลำเลียงแบบใช้พลังงาน
1.ก.                        2.ก. และ ข.                          3.ข. และ ค.                          4.ก., ข. และ ค.




(เฉลย1.ก.)
คำอธิบาย : เอกโซไซโทซิส (Exocytosis) เป็นวิธีการลำเลียงสารขนาดใหญ่ออกจากเซลล์ เช่น เอนไซม์ หรือฮอร์โมน สารที่จะถูกส่งออกไปนอกเซลล์จะถูกบรรจุในถุงเล็กๆ ที่เรียกว่า เวสิเคิล (Vesicle) เมื่อเวสิเคิลจะเคลื่อนที่มาที่ผิวเซลล์ และสัมผัสกับเยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อของเวสิเคิลจะรวมตัวกับเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้สารที่อยู่ภายในเวสิเคิลถูกปล่อยออกไปนอกเซลล์ เพื่อไปทำหน้าที่ของสารนั้นๆ ต่อไป เช่น การหลั่งเอนไซม์จากเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร การลำเลียงแอนติบอดีออกนอกเซลล์






4.เอนไซม์ของไลโซโซมของเซลล์สัตว์ชั้นสูง ทำหน้าที่ตามข้อใด
ก. ย่อยอาหาร
ข. ย่อยสิ่งแปลกปลอม
ค. ย่อยสลายออร์แกเนลล์ที่เสื่อมสภาพ
ง. ย่อยสลายเซลล์ที่ตาย
1.ก. และ ข.                          2.ข. และ ค.                          3.ค. และ ง.                          4.ก., , ค. และ ง.




(เฉลย4.ก., , ค. และ ง.)
คำอธิบาย : ไลโซโซม (Lysosome) เป็นถุงกลมๆ (เวสิเคิล) บรรจุเอนไซม์อยู่เต็มภายใน สร้างมาจากกอลจิคอมเพล็กซ์ มีหน้าที่ย่อยสิ่งแปลกปลอม สลายออร์แกเนลล์ที่เสื่อมสภาพ และเซลล์ที่ตาย

เมื่อเซลล์เสื่อมสภาพ ไลโซโซมจะมีหน้าที่ทำลายออร์แกเนลล์นั้น เมื่อเซลล์ได้รับอันตรายหรือจะตาย ไลโซโซมก็จะปล่อยเอนไซม์ออกมาที่ไซโทพลาซึมเพื่อย่อยสลายเซลล์อีกที และภายในยังมีเอนไซม์สำหรับย่อยอาหาร เช่น ไลโซโซมในเซลล์เม็ดเลือดขาว มันจะไปรวมกับเวสิเคิลหรือแวคิวโอลที่มีอาหารอยู่





6.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการลำเลียงสารแบบเอกโซไซโทซิส
ก. ใช้พลังงานจากกระบวนการหายใจ
ข. ทำให้พื้นที่ของเยื่อหุ้มเซลล์เปลี่ยนแปลงไป
ค. การเคลื่อนที่ของถุงบรรจุสารอาศัยไซโทสเกเลตอน
1.ก.                        2.                          3.ก. และ ข.                          4.ก., ข. และ ค.





(เฉลย4.ก., ข. และ ค.)
คำอธิบาย : การลำเลียงสารแบบ เอกโซไซโทซิส (Exocytosis) เป็นการลำเลียงสารขนาดใหญ่ออกจากเซลล์ ซึ่งต้องใช้พลังงานที่ได้จากกระบวนการหายใจ (ATP) โดยสารที่จะถูกส่งออกไปภายนอกเซลล์จะบรรจุอยู่ในเวสิเคิล (Vesicle) การเคลื่อนที่ของเวสิเคิลต้องอาศัยโครงร่างค้ำจุนเซลล์ที่อยู่ภายในไซโตพลาสซึม หรือ ไซโทสเกเลตอน (Cytoskeleton) หลังจากที่เวสิเคิลรวมตัวกับเยื่อหุ้มเซลล์จะทำให้พื้นที่ของเยื่อหุ้มเซลล์เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้สารที่อยู่ในเวสิเคิลถูกปล่อยออกไป








7.ในกรณีที่ร่างกายขาดแคลนอาหารหรืออดอาหารเป็นเวลานาน สารอาหารในกลุ่มใดจะถูกนำมาใช้ ตามลำดับ
1.ไขมัน   ไกลโคเจน     โปรตีน
2.ไกลโคเจน     ไขมัน     โปรตีน
3.โปรตีน   ไขมัน   ไกลโคเจน
4.ไกลโคเจน     โปรตีน     ไขมัน






(เฉลย4.ก., ข. และ ค.)
คำอธิบาย : ในกรณีที่ร่างกายขาดแคลนอาหารหรืออดอาหารเป็นเวลานาน อันดับแรกสารอาหารพวก
ไกลโคเจน (Glycogen) ที่สะสมไว้ในตับ จะถูกร่างกายสลายมาใช้เป็น ตามมาด้วยสารอาหารพวกไขมัน (Lipid) และสารอาหารพวกโปรตีน (Protein) เป็นอันดับสุดท้าย ซึ่งถ้าหากร่างกายสลายโปรตีนมาใช้แล้วจะทำให้ร่างกายซูบผอม เนื่องจากโปรตีนที่อยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อ (Muscle cell) ถูกดึงมาใช้ประโยชน์





8.นำเซลล์สมองมาตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะพบออร์แกเนลล์ใดจำนวนมาก
ก. ไมโทคอนเดรีย
ข. เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ
ค. ไรโบโซม
ง. ไลโซโซม
1.ก. และ ข.                          2.ข. และ ค.                          3.ก., ข. และ ค.                   4.ข., ค. และ ง.




(เฉลย3.ก., ข. และ ค.)
คำอธิบาย : เมื่อนำเซลล์สมอง (Brain cell) มาตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์มักจะพบออร์แกเนลล์ต่างๆ ได้แก่
-ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) : ที่ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ โดยพบมากถึง 4,000-5,000 อันต่อเซลล์
-เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ (Smooth Endoplasmic Reticulum , SER) : ที่ทำหน้าที่สังเคราะห์สารประกอบของคอเลสเตอรอล (Cholesterol) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ประสาท
-ไรโบโซม (Ribosome) : ที่ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนของเซลล์ประสาท





9.ออร์แกเนลล์ในข้อใดมียีนควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนตามที่ต้องการได้
ก. กอลจิคอมเพล็กซ์
ข. เอนโดพลาสมิกเรติคูลัม
ค. คลอโรพลาสต์
ง. ไมโทคอนเดรีย

1.ก. และ ข.                          2.ค. และ ง.                          3.ก., ค. และ ง.                   4.ข., ค. และ ง.





(เฉลย2.ค. และ ง.)

คำอธิบาย : ออร์แกเนลล์ที่มียีนควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนตามที่ต้องการได้ เช่น คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) และ ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) เนื่องจากทั้งสองออร์แกเนลล์มี DNA, RNA และไรโบโซม เนื่องจากออร์แกเนลล์เหล่านี้เกี่ยวกับการถ่ายทอดข้อมูลผ่านอาร์เอ็นเอ (RNA) โดยการถอดรหัสดีเอ็นเอ (DNA) เพื่อสร้างเป็นอาร์เอ็นเอไปทำหน้าที่กำหนดการเรียงตัวของกรดอะมิโน (Amino acid) ในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน (Protein Synthesis) จากนั้น โปรตีนจะถูกนำมาเป็นส่วนประกอบสำคัญในโครงสร้างขององค์ประกอบต่างๆ ภายในเซลล์ และเป็นสารเร่งปฏิกิริยาทางชีวเคมีหรือเอนไซม์ในสิ่งมีชีวิตต่อไป










10.กระบวนการในข้อใดที่สิ่งมีชีวิตใช้ในการแปรสภาพสารอินทรีย์ไปเป็นสารอนินทรีย์
ก. การหายใจ      ข. การขับถ่าย      ค. การย่อยสลาย
1.ก. และ ข.                          2.ข. และ ค.                          3.ก. และ ค.                          4.ก., ข. และ ค.




(เฉลย3.ก. และ ค.)
คำอธิบาย : กระบวนการที่สิ่งมีชีวิตใช้ในการแปรสภาพสารอินทรีย์ไปเป็นสารอนินทรีย์ ได้แก่ การหายใจและการย่อยสลาย
การหายใจ : เป็นการแปรสภาพสารอินทรีย์ คือ สารอาหารที่ให้พลังงานไปเป็นสารอนินทรีย์ คือ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และน้ำ (H2O)
การย่อยสลาย : เป็นการปล่อยเอนไซม์เพื่อมาย่อยสลายสารอินทรีย์ให้เป็นสารอนินทรีย์เพื่อดูดกลับไปใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น การดำรงชีวิตของจุลินทรีย์พวกเห็ดรา (Fungi) แบคทีเรีย (Bacteria)

14.เมื่อนำเซลล์ไปแช่ในสารละลายไฮโพโทนิก(Hypotonic) จะเกิดผลอย่างไร
1.เซลล์มีแรงดันออสโมซิสเพิ่มขึ้น ทำให้เซลล์เต่ง
2.เซลล์มีแรงดันเต่งลดลง ทำให้เซลล์เหี่ยว
3.เซลล์มีแรงดันเต่งเพิ่มขึ้น ทำให้เซลล์เต่ง
4.เซลล์มีแรงดันเต่งเพิ่มขึ้น และมีแรงดันออสโมซิสเพิ่มขึ้น



(3.เซลล์มีแรงดันเต่งเพิ่มขึ้น ทำให้เซลล์เต่ง)
คำอธิบาย : เมื่อนำเซลล์ไปแช่ใน สารละลายไฮโพโทนิก (Hypotonic Solution) ซึ่งเป็นสารละลายที่มีความเข้มข้นต่ำกว่าความเข้มข้นของสารละลายภายในเซลล์ ดังนั้น ถ้าเซลล์อยู่ในภาวะที่มีสารละลายไฮโปโทนิกล้อมรอบ เซลล์จะขยายขนาดหรือมีปริมาตรเพิ่มขึ้น เนื่องจากเกิดการแพร่ของน้ำจากสารละลายภายนอกเข้าสู่ภายในเซลล์ และทำให้เซลล์เกิดแรงดันเต่ง (Turgor Pressure) เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เซลล์เต่ง (Turgid)

1 ความคิดเห็น:

comment